ประวัติกรมทหารราบที่ 23

พระราชดำรัสตอนหนึ่ง

ของ

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

ในโอกาสเสด็จฯ เปิดค่าย “สุรธรรมพิทักษ์” จ.นครราชสีมา

วันเสาร์ที่ ๓๐ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๖

การที่ทหารหรือคนหนุ่ม ได้สร้างสมเพิ่มพูนความดีในตนเอง หรือนัยหนึ่ง ได้พากเพียรบำเพ็ญความดีให้เต็มสมบูรณ์ขึ้น เช่นนี้นี่แหละเรียกว่าสร้างบารมี บารมี คือ คุณงามความดีที่บุคคลค่อยสร้างสมอย่างสม่ำเสมอตลอดมา บารมีก่อให้เกิดกำลังใจอันเข้มแข็งและหาญกล้า ที่แต่ละคนจะนำมาใช้คุ้มครองป้องกันตัว ต่อสู้เอาชนะความชั่วทุจริตต่างๆได้อย่างดีที่สุด ในประการนี้ ขอให้ทหารทั้งหลายระลึกนึกถึงองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อทรงเสี่ยงพระบารมีผจญมารเป็นสำคัญ ก็จะสามารถเข้าใจชัดว่า ความดีในตัวบุคคลที่สร้างขึ้นสมบูรณ์นั้น สามารถป้องกันภยันตรายได้ทุกประการ ข้าพเจ้าเชื่อแน่ว่า ในที่สุดทุกคนจะต้องได้เป็นทหาร ผู้สามารถอาจพิทักษ์รักษาความดีความถูกต้องไว้ได้ด้วยความกล้าหาญ สมกับที่เป็นทหารของค่าย “ สุรธรรมพิทักษ์ ” ซึ่งมีความหมายว่า“ ดูแลคุ้มครองสิ่งที่เป็นธรรมด้วยความกล้าหาญ ”
——————————–

ประวัติกรมทหารราบที่ ๒๓

๑. ที่ตั้งหน่วย : ๒๓๐ หมู่๙ ค่ายสุรธรรมพิทักษ์ ต.โพธิ์กลาง อ.เมือง จ.นครราชสีมา ๓๐๐๐๐
๒. วันสถาปนาหน่วย : วันที่ ๓๐ เม.ย.๒๕๑๔
๓. ประวัติความเป็นมา
๓.๑ กล่าวทั่วไป เนื่องจากสถานการณ์ภายในและภายนอกประเทศ ได้ทวีความรุนแรงขึ้นตามลำดับ เพื่อเป็นการไม่ประมาทและเพื่อพัฒนากองทัพบก ทั้งเพิ่มพูน ประสิทธิภาพด้าน กำลังรบในสูงยิ่งขึ้น กองทัพบกได้ริเริ่มที่จะจัดตั้งกรมผสมขึ้น ๑ กรม เพื่อใช้เป็นกองหนุน และได้พิจารณาเห็นว่า กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน (พล.ปตอ.) มีกำลังพลเพียงพอที่จะจัดเป็นโครงได้ เพราะเป็นการจัดตั้งอย่างเร่งด่วน และมีการจัดเตรียมสถานที่ตั้งขั้นต้นในหลายพื้นที่ คือ พล.ปตอ. กทม. ในพื้นที่ ค่ายสุร นารี ค่ายเฟรนด์ชิพ จ.นครราชสีมาและค่ายสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี ทางด้านกำลังพลใช้อัตราโครง ยุทโธปกรณ์หลักได้ใช้จาก ศกน. ซึ่งอยู่ที่ ต.ลาดหญ้า จ.กาญจนบุรี เมื่อทุกอย่างเรียบร้อย ต่อมา ทบ. ได้มีคำสั่งตั้งกรมผสมขึ้นในปลายเดือน เม.ย.๑๔ โดยกำหนดชื่อเป็นกรมผสมที่ ๒๓ ครั้นเมื่อพ.ค.๒๒ ได้แปรสภาพเป็น กรมทหารราบที่ ๒๓ จนถึงปัจจุบัน โดยมีหน่วยขึ้นตรง ๓ กองพัน
๓.๒ การจัดตั้งหน่วยเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๔ กองทัพบกได้จัดตั้ง กรมผสมที่ ๒๓ ขึ้นตามคำสั่ง ทบ.ที่ ๖๔/๒๕๑๔ ลง ๓๐ เม.ย.๒๔๑๔ เรื่อง การจัดตั้งกรมผสมที่ ๒๓ เป็น หน่วยขึ้นตรงของ พล.ปตอ. ชื่อย่อว่า “ผส.๒๓” มีที่ตั้งหน่วยขั้นต้น ดังนี้.-
๓.๒.๑ บก.และ ร้อย.บก. (อจย. ๗-๑๓) มีที่ตั้งปกติอยู่ที่ พล.ปตอ. พระนคร
๓.๒.๒ ร้อย.บร. (อจย.๗-๑๓) มีที่ตั้งปกติอยู่ที่ พล.ปตอ. พระนคร
๓.๒.๓ มว.รสพ.ที่ ๒๓ (อจย.๕๕-๑๗ พ.) มีที่ตั้งปกติอยู่ที่ พล.ปตอ. พระนคร
๓.๒.๔ ป.พัน.๒๓ (อจย. ๖-๒๕) มีที่ตั้งปกติอยู่ที่ พล.ปตอ. พระนคร
๓.๒.๕ ร้อย.สร.๒๓(อจย.๘-๗) มีที่ตั้งปกติอยู่ที่ ค่ายเฟรนด์ชิพอ.เมือง จ.นครราชสีมา
๓.๒.๖ ร้อย.ช.สนามที่ ๒๓ (อจย. ๕-๑๗) มีที่ตั้งปกติอยู่ที่ ค่ายเฟรนด์ชิพ อ.เมือง จ.นครราชสีมา
๓.๒.๗ ผส.๒๓ ร.พัน.๑ (อจย. ๗-๑๕) มีที่ตั้งปกติอยู่ที่ ค่ายสุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา
๓.๒.๘ ผส.๒๓ ร.พัน.๒ (อจย. ๗-๑๕) มีที่ตั้งปกติอยู่ที่ ค่ายเฟรนด์ชิพ อ.เมือง จ.นครราชสีมา
๓.๒.๙ ผส.๒๓ ร.พัน.๓ (อจย. ๗-๑๕) มีที่ตั้งปกติอยู่ที่ ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
๓.๓ การเปลี่ยนแปลง
๓.๓.๑ เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘ กองทัพบกมีคำสั่งที่ กห ๐๓๑๗/๑๐๘ ลง ๒๙ ม.ค.๒๕๑๘ เรื่อง อนุมัติให้ปรับกำลังรบในเขตกองทัพภาคที่ ๒ และจัดตั้งกองพลที่ ๖ดังนี้.-
– ผส.๒๓ ร.พัน.๓ เปลี่ยนนามหน่วยเป็น ผส.๖ ร.พัน.๓ ขึ้นการบังคับบัญชากับ ผส.๖
– ผส.๓ ร.พัน.๓ เปลี่ยนนามหน่วยเป็น ผส.๒๓ ร.พัน.๓ ขึ้นการบังคับบัญชากับ ผส.๒๓ มีที่ตั้งอยู่ที่ค่ายวีรวัฒน์โยธิน อ.เมือง จ.สุรินทร์
– ยุบ ร้อย.บร.
– แปรสภาพ มว.รสพ.ที่ ๒๓ ให้เป็น ร้อย.รสพ.ผส.๒๓
๓.๓.๒ จัดตั้งกองร้อยเครื่องยิงหนัก กรมผสมที่ ๒๓ มีชื่อย่อว่า“ร้อย.ค.หนัก ผส.๒๓” ตามคำสั่ง ทบ.(เฉพาะ)ที่ ๓๘/๑๙ ลง ๑๙ พ.ค.๒๕๑๙ เรื่อง จัดตั้งกองร้อย เครื่องยิงหนัก กรมผสมที่ ๒๓ (อจย.๗-๑๔) มีที่ตั้งอยู่ที่ค่ายเฟรนด์ชิพ อ.เมือง จ.นครราชสีมา
๓.๓.๓ จัดตั้ง ผส.๒๓ พัน.๔ ตามคำสั่ง ทบ.(เฉพาะ) ที่ ๕๑/๒๑ ลง ๒๗ เม.ย.๒๕๒๑ (อจย.๗-๑๕) มีที่ตั้ง อยู่ที่ หมู่ ๙ ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์
๓.๓.๔ แปรสภาพหน่วย กรมผสมที่ ๒๓ เป็นกรมทหารราบที่ ๒๓ มีชื่อย่อว่า“ร.๒๓”ตามคำสั่ง ทบ. ที่ กห ๐๓๑๗/๑๑๐๖ ลง ๑๘ พ.ค.๒๕๒๒ เรื่อง แปรสภาพ หน่วยกรมผสมเป็นกรมทหารราบ
๓.๓.๕ ส่งมอบ ป.พัน.๒๓ ให้ ป.พล.๓ ตามคำสั่ง ทบ.(เฉพาะ) ลับ ที่ ๔/๒๕๒๒ ลง ๘ ม.ค.๒๕๒๒ เรื่อง การประกอบกำลังทหารปืนใหญ่กองพล
๓.๓.๖ ส่งมอบ ร้อย.ช.๒๓ ให้ ช.พัน.๒๓ ตามคำสั่ง ทบ.(เฉพาะ) ที่ ๖๕/๒๒ ลง ๒๓ เม.ย.๒๕๒๒
๓.๓.๗ จัดตั้ง ร.๒๓ พัน.๕ ( พัน.ร.เบา ) ตามคำสั่ง ทบ. (เฉพาะ) ที่ ๕๐/๒๔ ลง ๒๔ เม.ย.๒๕๒๔ มีที่ตั้งชั่วคราวอยู่ที่ บก.ร.๒๓ ค่ายเฟรนด์ชิพ ต.โพธิ์กลาง อ.เมือง จ.นครราชสีมา เคลื่อนย้ายเข้าที่ตั้งถาวรที่ ต.เหนือเมือง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด ตั้งแต่เดือน ต.ค.๒๕๒๕ และได้ส่งมอบ ร.๒๓ พัน.๕ ให้เป็นหน่วยของ ร.๑๖ และเปลี่ยน ชื่อหน่วยเป็น ร.๑๖ พัน.๑ ตั้งแต่ ๕ มิ.ย.๒๕๒๗
๓.๓.๘ เมื่อ ๓๐ เม.ย.๒๕๒๖ ได้รับพระราชทานนามค่ายว่า “ค่ายสุรธรรมพิทักษ์”
๓.๓.๙ จัดตั้ง มว.ตถ.ร.๒๓ ตามคำสั่ง ทบ. (ลับ) ที่ ๗๖/๒๘ ลง ๒๐ มี.ค.๒๕๒๘ มีที่ตั้งอยู่ที่ค่ายสุรธรรมพิทักษ์ อ.เมือง จ.นครราชสีมา
๓.๓.๑๐ ปิดการบรรจุหน่วยและกำลังพล ตามคำสั่ง ทบ.(เฉพาะ) ที่ ๓๐/๓๕ ลง ๙ มี.ค.๒๕๓๕ เรื่อง ปิดการบรรจุกำลังพลหน่วยทหารปี ๓๕
– ปิด ร้อย.ฝึก ร.๒๓, ร.๒๓ พัน.๑, ๒, ๓, ๔
– ปิดการบรรจุกำลังพล ร.๒๓ พัน.๒ ภายใน ก.ย.๒๕๓๕
๓.๓.๑๑ บันทึกข้อความ บก.ทบ.ที่ กห ๐๔๐๓/๑๒๓๖ ลง ๒๓ ก.ค.๒๕๓๕ เรื่อง ทบทวนการปรับปรุงกำลังพล ทบ.
– เม.ย.๒๕๓๖ ลดบรรจุกำลังพล ร.๒๓ พัน.๒ ให้เหลือตามอัตราโครง
– ก.ย.๒๕๓๖ ปิดการบรรจุทั้งหมด
๔. การจัดตั้งหน่วยปัจจุบัน (กรม ร. อจย. ๗-๑๑)
๔.๑ บก. และ ร้อย.นขต.ร.๒๓ : ที่ตั้งค่ายสุรธรรมพิทักษ์ อ.เมือง จ.นครราชสีมา
๔.๑.๑ บก. และ ร้อย.บก.ร.๒๓ (อจย.๗-๑๒ ลง ๒๕ มิ.ย.๒๒)
๔.๑.๒ ร้อย.ค.หนัก ร.๒๓ (อจย.๗-๑๔ ลง ๒๕ มิ.ย.๒๒)
๔.๑.๓ ร้อย.รสพ.ร.๒๓ (อจย.๗-๑๙ ลง ๒๕ มิ.ย.๒๒)
๔.๑.๔ มว.ตถ.ร.๒๓ (อจย.๗-๒๘ ลง ๑๒ ต.ค.๒๒)
๔.๒ ร.๒๓ พัน.๑(อจย.๗-๑๕ ลง ๒๕ มิ.ย.๒๒) : ที่ตั้งค่ายสุรธรรมพิทักษ์ อ.เมือง จ.นครราชสีมา
๔.๓ ร.๒๓ พัน.๓(อจย.๗-๑๕ ลง ๒๕ มิ.ย.๒๒) :ที่ตั้งค่ายวีรวัฒน์โยธิน อ.เมือง จ.สุรินทร์
๔.๔ ร.๒๓ พัน.๔(อจย.๗-๑๕ ลง ๒๕ มิ.ย.๒๒):ที่ตั้งค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก อ.เมืองจ.บุรีรัมย์

เกียรติประวัติของหน่วย

๔.๑ เกียรติประวัติการรบ กรมทหารราบที่ ๒๓ ได้รับมอบภารกิจให้ปฏิบัติการกวาดล้าง ปราบปรามผู้ก่อการร้าย และอำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์แห่ง ประเทศไทย ในหลายพื้นที่ เป็นเวลาต่อเนื่องกันมานับตั้งแต่ตั้งกรมผสมที่ ๒๓ ได้เพียง ๑ ปี พื้นที่ที่หน่วยได้รับมอบภารกิจให้ปฏิบัติส่วนใหญ่เป็นพื้นที่มีสถานการณ์รุนแรง
อาทิ เช่น อ.นาแก จ.นครพนม อ.สว่างแดนดิน อ.ส่องดาว อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ อ.วังสามหมอ จ.อุดรธานี อ.บึงกาฬ อ.โซ่พิสัย จ.หนองคาย อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์ และ อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ ทุกแห่งที่หน่วยเข้าแก่ไปสถานการณ์มักจะได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดี ทั้งนี้เพราะกำลังพลมีความสมัครสมานสามัคคีเป็นน้ำ หนึ่งใจเดียวกัน ผู้บังคับบัญชามีคุณลักษณะผู้นำดีเด่นเอาใจใส่ดูแลทุกข์สุขของผู้ใต้บังคับบัญชา นำหน่วยออกปฏิบัติการรบด้วยตนเอง ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับผู้ใต้บังคับบัญชา และ สร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน จึงได้รับผลสำเร็จอย่างงดงาม หน่วยได้สร้างชื่อเสียงฝากผลงานไว้กับ กองพลทหารราบที่ ๖ กองทัพภาคที่ ๒ และกองทัพบก โดยได้รับ รางวัลปฏิบัติงานดีเด่นทั้งบุคคลและหน่วยหลายปี
ปี ๒๕๑๖ -พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำรัสชมเชย พ.อ.อาทิตย์ กำลังเอก ในฐานะ ผู้บังคับการ
ชุดควบคุมกรมผสมที่ ๒๓ และ พ.ท.พิศิษฐ์ เหมะบุตร ในฐานะ ผู้บังคับกองพันหน่วยรบเฉพาะกิจกรมผสมที่๒๓ ที่ฐานปฏิบัติการภูพานน้อย อ.นาแก
จ.นครพนม ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด ร.ร.ร่มเกล้า หลังแรก ที่ บ.หนองแคน เมื่อ ๓๐ ต.ค.๑๖ โดยมีพระราชดำรัสว่า
“การปฏิบัติงาน ครั้งนี้ จะเป็นแผนใหม่ในการปฏิบัติจิตวิทยา และจะเป็นตำราเล่มใหม่ในอนาคต ความซื่อสัตย์สุจริตที่ทำนี้ฉันพอใจมาก”
-พล.ท.โพยม พหุลรัตน แม่ทัพภาคที่ ๒ ได้รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ ให้ กองพัน ร.๒๓๒ ซึ่งมี พ.ท.พิศิษฐ์ เหมะบุตร เป็นผู้บังคับกองพัน นำกำลัง
กวาดล้างยึดคลังอาวุธยุทโธปกรณ์และเวชภัณฑ์ ของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ได้มากที่สุดเป็นประวัติการและเป็นการเปิดประตูสู่เทือกเขาภูพาน โดยจารึก
ข้อความว่า “กองบัญชาการกองทัพภาคที่ ๒ ส่วนหน้า สกลนคร มอบเป็นที่ระลึกแด่ พัน.ร.๒๓๒ ในการปฏิบัติงานด้วยความกล้าหาญ และเสียสละยิ่ง”(กฝร.๑๖)
ปี ๒๕๑๙ -พล.ท.เปรม ติณสูลานนท์ แม่ทัพภาคที่ ๒และผู้อำนวยการป้องกันการกระทำ อันเป็นคอมมิวนิสต์เขต๒ ได้ประกาศเกียรติคุณชุดควบคุมที่ ๒๓ ว่าเป็นหน่วย
ที่ปฏิบัติงานดีเด่นและมีประสิทธิภาพในรอบปี พ.ศ.๒๕๑๙ โดยมี พ.อ.อาทิตย์ กำลังเอก ผู้บังคับชุดควบคุมที่ ๒๓ ในขณะนั้นเป็นผู้รับมอบ
ปี ๒๕๒๐ -พล.ท.เปรม ติณสูลานนท์ แม่ทัพภาคที่ ๒และผู้อำนวยการป้องกันการกระทำ อันเป็นคอมมิวนิสต์เขต๒ ได้ประกาศเกียรติคุณชุดควบคุมที่ ๒๓ ว่าเป็นหน่วย
ที่ปฏิบัติงานด้วยการทุ่มเทและปฏิบัติภารกิจด้วยจิตสำนึก รับผิดชอบและมี ความกล้าหาญอย่างยิ่งยวด มีความเสียสละอย่างสูงส่ง เพื่อประโยชน์สุขของ ประชาชนและประเทศ ชาติ โดยได้มอบโล่ปฏิบัติงานดีเด่นอันดับ ๑ ให้กับ พ.อ.พิศิษฐ์ เหมะบุตร ผู้บังคับชุดควบคุมที่ ๒๓ ในขณะนั้น
ปี ๒๕๒๑ -กรมทหารราบที่ ๒๓ ต้องแยกหน่วยปฏิบัติการเป็น ๒ พื้นที่ ทั้งในอีสานเหนือ และอีสานใต้ แต่ก็ได้รับผลสำเร็จทั้ง ๒ พื้นที่ ดังนี้.พล.ท.แสวง จามรจันทร์
แม่ทัพภาคที่ ๒ และผู้อำนวยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์เขต ๒ ได้ประกาศเกียรติคุณยกย่องชมเชยหน่วยและบุคคล กรมทหารราบที่ ๒๓ ว่า เป็นหน่วยและบุคคล ที่ปฏิบัติงานด้วยการทุ่มเทพลังกาย กำลังใจ และด้วย จิตสำนึก รับผิดชอบต่อหน้าที่อย่างสูง มีความกล้าหาญ เสียสละอย่างยิ่งยวด เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและประเทศ ชาติอย่างแท้จริง โดยแม่ทัพภาคที่ ๒ ได้มอบโล่และใบประกาศเกียรติคุณให้แก่หน่วยและบุคคล ดังนี้.-
ประเภทหน่วย
๑) มอบโล่หน่วยปฏิบัติงานดีเด่นให้ พตท.๒๐๒๑ โดยมี พ.อ.พิศิษฐ์ เหมะบุตร ผบ.พตท.๒๐๒๑ เป็นผู้รับมอบ
๒) มอบโล่หน่วยปฏิบัติงานดีเด่นให้ชุดควบคุมที่ ๒๓ โดยมี พ.ต.เรวัต บุญทับ ผบ.ชุดควบคุมที่ ๒๓ เป็นผู้รับมอบ
๓) มอบโล่หน่วยปฏิบัติงานดีเด่นให้ ร้อย.ร.๒๓๒๑ โดยมี ร.อ.ธีระศักดิ์ ฤทธิ์วงศ์ ผบ.ร้อย.ร.๒๓๒๑ เป็นผู้รับมอบ
ประเภทบุคคล
๑) มอบโล่และใบประกาศเกียรติคุณบุคคลปฏิบัติงานดีเด่นให้ พ.อ.พิศิษฐ์ เหมะบุตร ผบ.ร.๒๓ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ ผบ.พตท.๒๐๒๑ ในขณะนั้น
๒) มอบโล่และใบประกาศเกียรติคุณบุคคลปฏิบัติงานดีเด่นให้ พ.ต.เรวัต บุญทับ ผบ.ร.๒๓ พัน.๒ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ ผบ.ชุดควบคุมที่ ๒๓ ในขณะนั้น
ปี ๒๕๒๒ -พล.ท.ลักษณ์ ศาลิคุปต์ แม่ทัพภาคที่ ๒ และผู้อำนวยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ภาค ๒ ได้มอบโล่ปฏิบัติงานดีเด่นดังนี้
๑) มอบโล่ปฏิบัติงานดีเด่นให้ พตท.๒๐๒๑ โดยมี พ.อ.ศัลย์ ศรีเพ็ญ ผบ.พตท.๒๐๒๑ เป็นผู้รับมอบ
๒) มอบโล่หน่วยปฏิบัติงานดีเด่น ให้แก่ ร้อย.ร.๒๓๒๓ โดยมี ร.อ.ธีระศักดิ์ ฤทธิ์วงศ์ ผบ.ร้อย.ร.๒๓๒๓ เป็นผู้รับมอบ
๓) มอบโล่หน่วยปฏิบัติงานดีเด่น ให้แก่ ร้อย.ร.๒๓๒๔ โดยมี ร.ท.สังวร สง่าเนตร ผบ.ร้อย.ร.๒๓๒๔ เป็นผู้รับมอบ
– พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ฯพลฯ นายกรัฐมนตรี ได้มอบโล่รางวัลกิติคุณสัมพันธ์สังข์เงิน สาขาความมั่นคงแห่งชาติ อันดับ ๑ ให้แก่ พ.ท.เรวัต บุญทับ
ผบ.ร.๒๓ พัน.๒ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เมื่อ ๑๑ ม.ค.๒๒
ปี ๒๕๒๓ -พล.ท.ลักษณ์ ศาลิคุปต์ แม่ทัพภาคที่ ๒ และผู้อำนวยการป้องกันการกระทำ อันเป็นคอมมิวนิสต์ ภาค ๒ ได้มอบโล่และใบประกาศเกียรติคุณ ให้แก่หน่วย
ร.๒๓ ซึ่งปฏิบัติงานดีเด่นดังนี้
๑) มอบโล่ปฏิบัติงานดีเด่นให้ พตท.๒๐๒๑ โดยมี พ.อ.ศัลย์ ศรีเพ็ญ ผบ.พตท.๒๐๒๑ เป็นผู้รับมอบ
๒) มอบโล่หน่วยปฏิบัติงานดีเด่นให้แก่ ร้อย.ร.๒๓๑๓ โดยมี ร.อ.ธนิต หนีพาล ผบ.ร้อย.ร.๒๓๒๑ เป็นผู้รับมอบ
– พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้มอบโล่และใบประกาศเกียรติคุณ นายทหารปฏิบัติงานดีเด่น ให้แก่ ร.ต.อภิกิตต์ ศรีกังวาล ผบ.มว.ปล.ร้อย.ร.๒๓๒๑ ที่สนามกีฬา จ.สุรินทร์ เมื่อ ๕ มี.ค.๒๒